Monthly Archives: May 2014

การออกแบบพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น

การออกแบบพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น

ในการออกแบบระบบการทำความเย็นนั้น เรามีการเลือกใช้สารทำความเย็นได้หลายชนิด เช่น คลอโรฟลูโอโร แอมโมเนียไฮโดรคาร์บอน เช่น โพรเพน อีเทน เอทิลลีน เป็นต้น คาร์บอนไดออกไซด์ อากาศ และน้ำ ดังนั้น การเลือกใช้จึงได้ขึ้นอยู่กับสภาวะนั้นเอง เอทิลอีเธอร์ ถูกนำมาใช้เป็นสารทำความเย็นในระบบการทำความเย็น แบบไออัดตัวครั้งแรกในเชิงพาณิชย์ ปี ค.ศ. 1850 และได้มีการใช้สารทำความเย็นอื่น เช่น แอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ เมทิลคลอไรด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ บิวเทน โพรเพน ไอโซบิวเทน แก๊สโซลีน ชนิดต่างๆ แต่โรงงานอุตสาหกรรมหรือ ธุรกิจส่วนใหญ่จะใช้พวก แอมโมเนีย แม้ว่า แอมโมเนียจะเป็นพิษ แต่เนื่องจากว่ามแอมโมเนียนั้น มีราคาที่ถูก ให้ค่า COPs สูงกว่า มีสมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์และความสามารถในการถ่ายโอนความร้อนที่ดีกว่า ทำให้ค่าการถ่ายโอนความร้อนที่สูงกว่า และยังง่ายต่อการตรวจจับการรั่วไหล และไม่มีผลต่อชั้นโอโซในบรรยากาศ แต่ว่า ข้อเสียหลักของแอมโมเนีย คือ ความเป็นพิษซึ่งไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้ และมักใช้แอมโมเนียกับระบบทำความเย็นอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การแช่ผลไม้สด ผัก เนื้อ และเครื่องดื่ม เช่น ไวน์ เบียร์ และการเช่นไอศกรีมและอาหารอื่น ๆ อีกด้วย

เป็นที่น่าสังเกต คือ ในอดีตสารทำความเย็นที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมเบาและบ้านเรือนมีสารพิษ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เอทิลคลอไรค์ และเมทิลคลอไรด์ และเมื่อเกิดการรั่วจะก่อให้เกิดอัตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาสารทำความเย็นที่มีความปลอดภัยให้มากขึ้น บริษัท frigidaire and general motor ได้มีการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับสารทำความเย็น R-12 ขึ้น ซึ่งเป็นสารทำความเย็นชนิดแรกจำพวก CFCs และได้พบว่าเป็นสารทำความเย็นที่เหมาะสมมากที่สุดที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์ จากวิกฤตทางด้านโอโซน ทำให้คนได้ให้ความสนใจกับสารทำความเย็นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารจำพวก CFCs ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ในปี ค.ศ. 1970 เราได้พบว่าสารตัวนี้ได้มีผลทำให้รังสีอัลตราไวโอเรตเข้ามายังชั้นบรรยากาศของโลก ส่งผลกระทบคือเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ปรากฏกาณ์ เรือนกระจก ( greenhouse effect ) และก่อให้เกิดอินฟราเรดออกจากชั้นบรรยากาศของโลกอีกด้วย

เทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้ในการผลิตเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น


ปัจจุบันระบบทำความเย็น (Chiller) เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรหลากหลายชนิด

ทำให้มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประเทศไทยที่อยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น จำเป็นต้องใช้ Chiller ทำให้เครื่องจักรเหล่านั้นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นสามารถช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายในแง่ของการพัฒนาระบบให้ดีมากขึ้น เนื่องจากระ Chiller สามารถแก้ไขปัญหาและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ระบบ Chiller มีลักษณะการทำงานแบบระบบเปิดและระบบปิด หรือสามารถเลือกใช้งานได้แบบ 1-1 หรือ แบบรวมศูนย์ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมตามลักษณะการใช้งานของอุตสาหกรรมต่างๆ

สำหรับเรื่องสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนและมีการคาดการณ์ว่าหน้าร้อนปีนี้จะสั้นกว่าปกตินั้น คิดว่าไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถผลิตเครื่องปรับอากาศที่มี 2 ระบบได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะขายดีขึ้น อย่างไรก็ตามมูลค่าส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 7-8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ  โดยภาพรวมปีนี้ไม่ต่างจากปีที่แล้วมากนัก ทั้งเรื่องปัญหาเงินบาทแข็งค่าและการแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้นโดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยต้องแข่งขันด้านราคาสินค้าจากผู้ประกอบการจีน ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นราคาแต่ไม่สามารถปรับได้ เนื่องจากต้องแข่งขันกับสินค้าจากจีนที่จะเข้ามาตีตลาด

กลุ่มเครื่องปรับอากาศและทำความเย็นเป็นสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทั้งด้านพาณิชย์และอุตสาหกรรมโดยใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุดของโลก อุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูงที่รับประกันถึงประสิทธิภาพชั้นเยี่ยมรวมถึง คอมเพรสเซอร์สำหรับเครื่องทำความเย็นและคอมเพรสเซอร์ที่มีอินเวอร์เตอร์สำหรับระบบปรับอากาศแบบคอยล์หลายใบพัด อีกสิ่งที่อยู่ในรายการเดียวกันก็คือเครื่องทำความเย็นแบบดูดซึมไอน้ำขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก เหมาะสำหรับการนำไปใช้ที่หลากหลาย เช่น ในการทำความเย็นแบบรวมศูนย์

ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วส่งผลให้ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก ในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจประกอบกับการผลิตพลังงานภายในประเทศยังไม่สามารถผลิตพลังงานเพียงพอต่อความต้องการใช้งานในประเทศได้ ทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันมีปริมาณในแต่ละปีสูงมาก

หลักการประหยัดพลังงานในระบบทำความเย็นและปรับอากาศ

คือ การใช้งานเท่าที่จำเป็นและป้องกันความร้อนที่จะแพร่เข้าไปภายในอาคาร ตลอดจนการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสมกับงาน รวมทั้งต้องมีความรู้ในการใช้งาน และการควบคุมดูแลเครื่องให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีแนวความคิดในเรื่องการประหยัดพลังงาน เช่น การนำพลังงานที่ทิ้งกลับมาใช้ใหม่ หรือจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆในโรงงานและอาคาร เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานมากที่สุด