การออกแบบพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น

การออกแบบพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น

ในการออกแบบระบบการทำความเย็นนั้น เรามีการเลือกใช้สารทำความเย็นได้หลายชนิด เช่น คลอโรฟลูโอโร แอมโมเนียไฮโดรคาร์บอน เช่น โพรเพน อีเทน เอทิลลีน เป็นต้น คาร์บอนไดออกไซด์ อากาศ และน้ำ ดังนั้น การเลือกใช้จึงได้ขึ้นอยู่กับสภาวะนั้นเอง เอทิลอีเธอร์ ถูกนำมาใช้เป็นสารทำความเย็นในระบบการทำความเย็น แบบไออัดตัวครั้งแรกในเชิงพาณิชย์ ปี ค.ศ. 1850 และได้มีการใช้สารทำความเย็นอื่น เช่น แอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ เมทิลคลอไรด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ บิวเทน โพรเพน ไอโซบิวเทน แก๊สโซลีน ชนิดต่างๆ แต่โรงงานอุตสาหกรรมหรือ ธุรกิจส่วนใหญ่จะใช้พวก แอมโมเนีย แม้ว่า แอมโมเนียจะเป็นพิษ แต่เนื่องจากว่ามแอมโมเนียนั้น มีราคาที่ถูก ให้ค่า COPs สูงกว่า มีสมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์และความสามารถในการถ่ายโอนความร้อนที่ดีกว่า ทำให้ค่าการถ่ายโอนความร้อนที่สูงกว่า และยังง่ายต่อการตรวจจับการรั่วไหล และไม่มีผลต่อชั้นโอโซในบรรยากาศ แต่ว่า ข้อเสียหลักของแอมโมเนีย คือ ความเป็นพิษซึ่งไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้ และมักใช้แอมโมเนียกับระบบทำความเย็นอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การแช่ผลไม้สด ผัก เนื้อ และเครื่องดื่ม เช่น ไวน์ เบียร์ และการเช่นไอศกรีมและอาหารอื่น ๆ อีกด้วย

เป็นที่น่าสังเกต คือ ในอดีตสารทำความเย็นที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมเบาและบ้านเรือนมีสารพิษ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เอทิลคลอไรค์ และเมทิลคลอไรด์ และเมื่อเกิดการรั่วจะก่อให้เกิดอัตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาสารทำความเย็นที่มีความปลอดภัยให้มากขึ้น บริษัท frigidaire and general motor ได้มีการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับสารทำความเย็น R-12 ขึ้น ซึ่งเป็นสารทำความเย็นชนิดแรกจำพวก CFCs และได้พบว่าเป็นสารทำความเย็นที่เหมาะสมมากที่สุดที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์ จากวิกฤตทางด้านโอโซน ทำให้คนได้ให้ความสนใจกับสารทำความเย็นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารจำพวก CFCs ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ในปี ค.ศ. 1970 เราได้พบว่าสารตัวนี้ได้มีผลทำให้รังสีอัลตราไวโอเรตเข้ามายังชั้นบรรยากาศของโลก ส่งผลกระทบคือเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ปรากฏกาณ์ เรือนกระจก ( greenhouse effect ) และก่อให้เกิดอินฟราเรดออกจากชั้นบรรยากาศของโลกอีกด้วย