Category Archives: สินค้าบริการ

ระบบทำความเย็นในโรงงานอุตสาหกรรม

ระบบทำความเย็น และระบบปรับอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมใช้ระบบดูดซึม (Absorption) ซึ่งใช้พลังงานจากความร้อนเป็นส่วนใหญ่ สามารถใช้ความร้อนได้จากหลายแหล่ง เช่น ไอน้ำจากหม้อไอน้ำ น้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น นอกจากเป็นการประหยัดพลังงานแล้วยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

หลักการเบื้องต้นของระบบทำความเย็นแบบดูดซึม การทำงานของระบบทำความเย็น แบบดูดซึม (Absorption Systems) เริ่มต้นจากสารทำความเย็นซึ่งมีอุณหภูมิ 5 ๐C และมีความดัน 6 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งจะถูกดูดซึมด้วยสารดูดซึมกลายเป็นของเหลวในตัวดูดซึมความร้อน (Absorber) จากนั้นจะถูกสูบโดยปั๊มเพื่อให้มีความดันสูงเป็น 75 มิลิเมตรปรอท และถูกส่งไปยังอุปกรณ์ให้ความร้อน (Generator) เพื่อรับความร้อนจากแหล่งกำเนิดความร้อนต่างๆ เช่น น้ำร้อน ไอน้ำ หรือไอความร้อนที่เหลือจากการเผาไหม้ที่อุณภูมิสูงประมาณ 100-200 ๐C ทำให้สารทำความเย็นแยกตัวออกจากสารดูดซึม ไอน้ำจะกลั่นตัวที่ชุดควบแน่น (Condenser) ที่อุณหภูมิประมาณ 40-50 ๐C และกลับสภาพเป็นของเหลวตามเดิม ส่วนสารดูดซึมที่เหลือจะถูกนำมาไว้ที่ตัวดูดซึมเพื่อใช้งานใหม่ความร้อนที่คายออกมาก็จะระบายออกไปสู่บรรยากาศ

ระบบทำความเย็นแบบดูดซึมประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก 4 ส่วน ได้แก่

ตัวดูดซึมความร้อน (Absorber) คือ อุปกรณ์ดูดซึมความร้อน เป็นส่วนที่บรรจุสารทำความเย็น และตัวละลาย เช่น ในกรณีที่ใช้สารลิเธียมไบรไมด์ (LiBr) และน้ำนั้น น้ำจะเป็นสารทำความเย็น และลิเธียมไบรไมด์จะเป็นตัวละลาย

ตัวทำความเย็น (Evaporator) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ หรือส่วนที่ใช้แลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสารทำความเย็นกับน้ำของระบบ Chiller หรือน้ำเย็นที่จะนำไปใช้กับระบบปรับอากาศ

อุปกรณ์ให้ความร้อน (Generator) เป็นอุปกรณ์ หรือส่วนให้ความร้อนกับระบบในตัวดูดซึมความร้อน และสารละลายลิเธียมไบร์ไมด์ถูกสูบมารับความร้อน ทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอ โดยที่สารละลายลิเธียมไบร์ไมด์เข้มข้นขึ้นอีกครั้งแล้วส่งกลับไปยังตัวดูดซึมความร้อน

ตัวควบแน่น (Condenser) เป็นที่ที่ไอน้ำในอุปกรณ์ให้ความร้อนแล้วกลั่นตัวเป็นน้ำ เพื่อส่งกลับไปที่ตัวทำความเย็นใหม่

ระบบทำความเย็นแบบดูดซึมมีประสิทธิภาพต่ำกว่าระบบทำความเย็นแบบอัดสารทำความเย็น แต่พลังงานความร้อนที่ใช้ในอุปกรณ์ให้ความร้อนสามารถนำมาจากแหล่งความร้อน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์พลังงานอีกวิธีหนึ่ง โดยพลังงานความร้อนดังกล่าวอาจมาจาก

– หม้อไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม ยังมีปริมาณไอน้ำเหลือจากการใช้ในกระบวนการผลิตเพียงพอที่จะนำมาใช้
– หม้อไอน้ำที่ติดตั้งเพื่อใช้กับระบบทำความเย็นโดยเฉพาะ
– การนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ (Water Heat Recover) จากก๊าซที่ปล่อยทิ้งจากระบบของเครื่องยนต์ ซึ่งก๊าซ หรือกังหันก๊าซ (Gas Engines or Gas Turbines) มักจะใช้ในโรงงานไฟฟ้า สามารถทำในรูปของโรงงานอุตสาหกรรมที่ติดตั้งระบบผลิตความร้อน และไฟฟ้าร่วม (Cogeneration) ได้
– ไอน้ำความดันต่ำจากการปล่อยทิ้งของกังหันไอน้ำ (Stream Turbines)
– น้ำร้อนจากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์

การเลือกซื้อตู้แช่แข็งสำหรับใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

การจัดเก็บอาหารให้สดใหม่เสมอๆนั้นเป็นเรื่องสำคัญ

เพราะการที่อาหารที่เราทำใช้วัตถุดิบที่เก็บไม่ดีโดยอาจจะเก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม ที่เก็บอาจจะอับชื้นหรือไม่ถูกสุขอนามัย หรือถ้าร้ายไปกว่านั้นคือวัตถุดิบที่จะนำมาประกอบอาหารนั้นค้างคืนหรือเน่าเสียไปแล้ว ดังนั้นการที่เราเลือกซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ซึ่งวัตถุดิบแต่ละอย่างนั้นย่อมมีอายุการจัดเก็บที่สั้น ถ้าหากคุณต้องการจัดเก็บวัตถุดิบเพื่อรักษาความสดใหม่ให้ได้ยาวนานคุณอาจต้องการตัวช่วยอย่างตู้แช่เย็นคุณภาพดีสักเครื่อง

การเลือกซื้อตู้แช่แข็งนอกจากจะดูรายละเอียดต่างๆแล้วควรสังเกตเพิ่มเติมในเรื่องของฉลากประหยัดไฟฟ้าด้วย เพราะปัจจุบันนี้ได้มีการติดฉลากที่ตู้แช่แข็ง เพื่อแสดงว่าตู้แช่แข็งใช้พลังงานไฟฟ้าเท่าใด ค่าไฟฟ้าต่อปีเท่าใด และประสิทธิภาพอยู่ในระดับใด ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้บริโภคพิจารณาเลือกซื้อตู้แช่แข็งที่มีคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น สำหรับระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของตู้แช่แข็ง เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ต่ำ พอใช้ ปานกลาง ดี ดีมาก ซึ่งบนฉลากจะแสดงระดับประสิทธิภาพเป็นตัวเลขและบอกความหมาย โดยมีตัวเลขแสดงการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหน่วยต่อปี และค่าไฟฟ้าเป็นบาทต่อปีพร้อมระบุยี่ห้อ และรุ่นของตู้แช่แข็งประกอบด้วยอย่างชัดเจน

ตู้แช่เย็น สามารถตอบสนองความต้องการการถนอมอาหารของคุณได้อย่างแน่นอน

ด้วยความแข็งแรงทนทานและมีระบบการจัดการที่เป็นอัตโนมัติทำให้สะดวกใช้งานง่าย รวมทั้งมีแผงระบายความร้อนเหมาะสำหรับสามารถนำไปใช้แช่วัตถุดิบในการประกอบอาหารของคุณในทุกๆครอบครัว สำหรับผู้บริโภคทั่วไปการซื้อตู้เย็น 2 ประตูที่มีส่วนทำความเย็นและช่องแช่แข็งแยกประตูกันจะดีกว่าซื้อตู้เย็น 1 เครื่อง และตู้แช่แข็งอีก 1 เครื่อง สำหรับตู้เย็นแบบที่มีช่องแช่แข็งในตัวนั้นช่องแช่แข็งที่อยู่ด้านบนหรือด้านล่างของตู้เย็นจะดีกว่าแบบที่ประตูอยู่ข้างกัน และแน่นอนว่าในการเลือกซื้อตู้เย็น คุณควรจะเปรียบเทียบอัตราการใช้ไฟเสมอ โดยสังเกตที่ฉลากประหยัดไฟ และมองหาตู้เย็นที่มีเทคโนโลยี Greenfreeze

ตู้แช่แข็งรุ่นที่ดึงประตูเปิดออกข้างจะมีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นที่เปิดประตูขึ้นข้างบน สำหรับตู้แช่แข็งจะไม่เหมือนตู้เย็นตรงที่ขนาดของมันมีผลต่อการใช้ไฟ ตู้แช่แข็งเครื่องใหญ่จะกินไฟมากกว่า ดังนั้นอย่าซื้อตู้แช่แข็งที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น โดยเฉพาะหากคุณอาศัยอยู่ใกล้ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า ตู้แช่แข็งรุ่นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในท้องตลาด ขนาดความจุ 300 ลิตร จะกินไฟเพียง 180 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี และขนาดใหญ่ 450 ลิตร กินไฟ 240 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ส่วนตู้แช่แข็งแบบประตูเปิดขึ้นข้างบน รุ่นที่มีคุณภาพจะกินไฟตั้งแต่ 170 กิโลวัตต์ชั่วโมง สำหรับรุ่นความจุ 190 ลิตร จนถึง 220 กิโลวัตต์ชั่วโมง สำหรับรุ่นความจุ 310 ลิตร

เครื่องทำความร้อนจากการใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็น นวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจ

wolcottcongregational.org

ในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาในการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆตามสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงได้มีการนำระบบน้ำร้อนจากเครื่องปรับอากาศมาใช้ เป็นระบบที่นำเอาพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในการทำความเย็นให้กับตัวอาคาร แล้วปล่อยพลังงานความร้อนออกไปด้วยพัดลมระบายอากาศอีกทั้งธุรกิจบริการต่างๆจำเป็นต้องใช้เครื่องทำความเย็นมากขึ้นทุกวัน ทำให้มีการใช้ไฟฟ้ากันมากขึ้น เช่น ธุรกิจโรงแรม โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ในส่วนของการอุปโภคบริโภคอีกด้วย ผู้ประกอบการเองเมื่อทำธุรกิจจำเป็นต้องใช้ เครื่องปรับอากาศ และ เครื่องทำน้ำร้อน อันเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้เพื่อเป็นสวัสดิการเสริมให้แก่พนักงาน แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้นั่นคือ การประหยัดพลังงาน ฉะนั้นทางเลือกหนึ่งของการประหยัดพลังงานคือระบบ ULTRA PLUS ซึ่งเป็นเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำร้อนในตัวเดียวกัน และยังช่วยประหยัดหลังงานได้มากกว่าครึ่ง

นวัตกรรมเครื่องทำน้ำร้อนจากการใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็น โดยเครื่องทำน้ำร้อนจะทำงานร่วมกันกับเครื่องทำความเย็นและระบายความร้อนด้วยอากาศที่มีคอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์อัดไอสารทำความเย็นโดยสารทำความเย็นจะนำความร้อนได้จากวัฏจักรทำความเย็นที่นำออกจากห้องที่ต้องการทำความเย็น ทำให้ความเย็นเป็นของเหลว เรียกว่าการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสารทำความเย็นกับน้ำ น้ำที่ผ่านเครื่องจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น และเกิดเป็นพลังงานจากเครื่องทำความเย็น ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานอีก ในขณะเดียวกันการติดตั้งเครื่องและเปลี่ยนความร้อนทำให้ระบบสามารถระบายความร้อนได้ดี ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทำความเย็นจะดีขึ้น โดยทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน จะทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพสมบูรณ์แบบเป็นการประหยัดพลังงานได้มากขึ้น และได้รับประโยชน์มากขึ้นอีกด้วย

การวางแผนสำหรับการประหยัดพลังงานเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานของชาติและลดต้นทุนในการทำธุรกิจ การประหยัดพลังงานสามารถทำได้หลายวิธี ควรเลือกวิธีที่ลงทุนน้อยที่สุด โดยหนึ่งอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเปลืองที่สุด นั่นคือ เครื่องทำความเย็นนั่นเอง

หลักการทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศความสำคัญอย่างมาก

หลักการทำความเย็นเครื่องปรับอากาศก่อนที่เราจะเรียนรู้กลไกการทำงานของ เครื่องปรับอากาศ เราควรทราบก่อนว่า ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการทำการความเย็นมี
1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ของแอร์ แอร์บ้าน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำ ความเย็นหรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น
2. คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น
3. คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น
4. อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสาร ทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็น แค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ (Capillary tube) หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)

ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้
1) เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดันและอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน
2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน
3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)
4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อนจากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้องลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้
1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการทำงานของคอมเพรสเซอร์
2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่านส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ

การลดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศโดยใช้สารดูดความชื้นเพื่อการประหยัดพลังงาน


ปัจจุบันเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศเป็นอุปกรณ์ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในบ้านเรือนและอุตสาหกรรม โดยประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศเป็นอันดับต้นๆของโลก สารทำความเย็นที่ใช้ในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศจะถูกปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการเกิดภาวะมลพิษ ซึ่งแนวทางหนึ่งในการช่วยลดการใช้ไฟฟ้าลงได้คือการลดความชื้นภายในอากาศโดยไม่ใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้สารดูดความชื้น จึงเป็นวิธีหนึ่งในการลดความชื่นในอากาศ แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ลดความชื้นที่จำหน่ายในท้องตลาดมีด้วยกันหลายแบบ เช่น เครื่องลดความชื้นที่ใช้คอมเพรสเซอร์และเครื่องลดความชื้นที่ใช้สารกึ่งตัวนำเป็นอุปกรณ์หลักในการลดความชื้น เครื่องลดความชื้นที่ใช้สารกึ่งตัวนำนั้นจะเป็นวิธีการที่สะดวกเพราะไม่มีอุปกรณ์มาก ง่ายต่อการติดตั้งและมีน้ำหนักเบา ความชื้นสะสมที่เกิดขึ้นภายในที่พักอาศัยมักจะเกิดขึ้น เนื่องจากร่างกายมนุษย์ที่ถ่ายเทความชื้นจากร่างกายให้กับอากาศในที่พักอาศัย การคายความชื้นจากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายในที่พักอาศัย ด้วยเหตุนี้ทำให้ปริมาณความชื้นภายในอากาศเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดความไม่สบายเชิงความร้อนต่อผู้พักอาศัย จากการคายความชื้นสู่อากาศภายในที่พักอาศัยทำให้เครื่องปรับอากาศจะต้องทำการดึงความร้อนแฝงที่เกิดจากความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัยออกจากที่พักอาศัยเป็นจำนวนมาก

การลดความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัย ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ แบบ Passive และ Active
วิธี Passive อาศัยหลักการเดียวกับการระบายอากาศแบบธรรมชาติ เมื่ออากาศมีอุณหภูมิจะทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้นและความชื้นในอากาศก็ลอยตัวพร้อมกับอากาศไหลผ่านฝ้าเพดาน
วิธี Active จะเป็นการลดความชื้นโดยมีอุปกรณ์ช่วยในการลดความชื้น เช่น พัดลมสำหรับการระบายอากาศเพื่อช่วยในการลดความชื้นสะสมภายในที่พัก

ฉะนั้นเมื่อมีการลดความชื้นของอากาศลงก็จะช่วยทำให้เครื่องปรับอากาศลดความชื่นลงได้ ซึ่งจะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

การให้ความร่วมมือของประเทศต่างๆโดยการใช้ระบบทำความเย็นด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ปัจจุบันโลกเริ่มให้ความสำคัญของการเกิดภาวะเรือนกระจกมากขึ้น ในการมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยสารที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ผู้ผลิตเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศหลายรายในเอเชียได้วางแผนที่จะค่อยๆปรับลดการใช้สารที่มีส่วนประกอบของคลอรีนที่เป็นการทำลายชั้นโอโซนที่ค่อยๆหมดไปในอนาคต โดยเปลี่ยนสารทำความเย็นจากไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอนให้เป็นสารที่เบาขึ้นเพื่อป้องกันการทำลายชั้นโอโซน นอกจากนี้ยังมีหลายประเทศร่วมกันจัดกิจกรรมให้กับลูกค้าในการให้ความรู้เรื่องภาวะโลกร้อน และสนับสนุนให้ผู้ใช้เปลี่ยนไปใช้สารทำความเย็นที่เบากว่าเดิม

ภาวะเรือนกระจกเกิดจากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการสร้างพลังงานไฟฟ้า และยังช่วยในการขนส่ง ระบบปรับอากาศจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ ซึ่งหากใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาทำลายชั้นบรรยากาศของโลกได้ ปัจจุบันการทำความเย็นมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น ระบบปรับอากาศในบ้านเรือน การรักษาความสดของอาหาร เช่น ตู้เย็น โดยระบบทำความเย็นมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบอัดไอ และระบบดูดซึม

ในเวลานี้ประเทศที่พัฒนาแล้วจึงลดการผลิตและยกเลิกการใช้งานสารอันตรายได้สำเร็จ ซึ่งกำลังดำเนินการไปเรื่อยๆในประเทศที่กำลังพัฒนา และในหลายๆประเทศเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น พลังงานแสงอาทิตย์นั้นมีศักยภาพนำมาผลิตเป็นความเย็นเพื่องานด้านความเย็นแบบดูดกลืนพลังงานความร้อนหรือระบบอากาศที่มีประสิทธิภาพ และยังรักษาสิ่งแวดล้อมลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล มีพลังงานในการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานกลความเย็น นำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ

ในหลายๆประเทศเริ่มมีการประยุกต์ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตความเย็น นับว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ และควรร่วมกันสนับสนุน เพื่อการใช้งานในเชิงพาณิชย์ เพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิล และพลังงานแสงอาทิตย์นั้นเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด อีกทั้งประเทศไทยเป็นเมืองร้อนจึงมีศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์ที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้นการช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยีความเย็นจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแนวทางที่ยั่งยืนและไม่มีวันหมด

เทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้ในการผลิตเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น


ปัจจุบันระบบทำความเย็น (Chiller) เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรหลากหลายชนิด

ทำให้มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประเทศไทยที่อยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น จำเป็นต้องใช้ Chiller ทำให้เครื่องจักรเหล่านั้นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นสามารถช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายในแง่ของการพัฒนาระบบให้ดีมากขึ้น เนื่องจากระ Chiller สามารถแก้ไขปัญหาและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ระบบ Chiller มีลักษณะการทำงานแบบระบบเปิดและระบบปิด หรือสามารถเลือกใช้งานได้แบบ 1-1 หรือ แบบรวมศูนย์ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมตามลักษณะการใช้งานของอุตสาหกรรมต่างๆ

สำหรับเรื่องสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนและมีการคาดการณ์ว่าหน้าร้อนปีนี้จะสั้นกว่าปกตินั้น คิดว่าไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถผลิตเครื่องปรับอากาศที่มี 2 ระบบได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะขายดีขึ้น อย่างไรก็ตามมูลค่าส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 7-8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ  โดยภาพรวมปีนี้ไม่ต่างจากปีที่แล้วมากนัก ทั้งเรื่องปัญหาเงินบาทแข็งค่าและการแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้นโดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยต้องแข่งขันด้านราคาสินค้าจากผู้ประกอบการจีน ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นราคาแต่ไม่สามารถปรับได้ เนื่องจากต้องแข่งขันกับสินค้าจากจีนที่จะเข้ามาตีตลาด

กลุ่มเครื่องปรับอากาศและทำความเย็นเป็นสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทั้งด้านพาณิชย์และอุตสาหกรรมโดยใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุดของโลก อุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูงที่รับประกันถึงประสิทธิภาพชั้นเยี่ยมรวมถึง คอมเพรสเซอร์สำหรับเครื่องทำความเย็นและคอมเพรสเซอร์ที่มีอินเวอร์เตอร์สำหรับระบบปรับอากาศแบบคอยล์หลายใบพัด อีกสิ่งที่อยู่ในรายการเดียวกันก็คือเครื่องทำความเย็นแบบดูดซึมไอน้ำขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก เหมาะสำหรับการนำไปใช้ที่หลากหลาย เช่น ในการทำความเย็นแบบรวมศูนย์

ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วส่งผลให้ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก ในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจประกอบกับการผลิตพลังงานภายในประเทศยังไม่สามารถผลิตพลังงานเพียงพอต่อความต้องการใช้งานในประเทศได้ ทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันมีปริมาณในแต่ละปีสูงมาก

หลักการประหยัดพลังงานในระบบทำความเย็นและปรับอากาศ

คือ การใช้งานเท่าที่จำเป็นและป้องกันความร้อนที่จะแพร่เข้าไปภายในอาคาร ตลอดจนการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสมกับงาน รวมทั้งต้องมีความรู้ในการใช้งาน และการควบคุมดูแลเครื่องให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีแนวความคิดในเรื่องการประหยัดพลังงาน เช่น การนำพลังงานที่ทิ้งกลับมาใช้ใหม่ หรือจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆในโรงงานและอาคาร เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานมากที่สุด

ประเทศไทยมีความพร้อมในการส่งออกเครื่องทำความเย็นไปยังต่างประเทศ

แม้ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งธุรกิจร้านอาหารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตมนุษย์ นอกจากนั้น อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจค้าปลีกทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นมินิมาร์ท ร้านสะดวกซื้อ ซูปเปอร์มาร์เก็ต และ  ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

ไทยให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบทำความเย็นอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะระบบแช่เยือกแข็งซึ่งเป็นหัวใจของอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตสมัยใหม่ที่เร่งรีบ ประกอบกับการกระจายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น เช่นเดียวกับตลาดต่างประเทศที่ตลาดอาหารแช่แข็งยังคงขยายตัวตลอดเวลา ยอดการส่งออกอาหารแช่แข็งของไทยในปีที่ผ่านมา พบว่ายอดการส่งออกอาหารแช่แข็งในตลาดหลัก อาทิ สหภาพยุโรป และอเมริกา ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนมาก เนื่องจากในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้บริโภคได้หันมาบริโภคอาหารแช่แข็งแทนการบริโภคอาหารนอกบ้าน

นอกจากนั้น การส่งออกอุปกรณ์และระบบทำความเย็นต่างๆ ที่ช่วยรักษาความสดและคุณภาพของอาหารตลอดกระบวนการแช่แข็งอาหาร ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตจนถึงมือผู้บริโภคยังคงเติบโต ทั้งในส่วนของเครื่องผลิตน้ำแข็งแผ่น ที่ใช้ในการแช่อาหารสด ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงาน และบำรุงรักษาง่าย เครื่องผลิตน้ำแข็ง แบบเกล็ดซึ่งใช้ในร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ เครื่องบรรจุน้ำแข็งอัตโนมัติ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งนอกจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจค้าปลีกในประเทศแล้ว ยังมีกลุ่มลูกค้าหลักในหลายๆ ตลาดทั่วโลก อาทิ หมู่เกาะมาร์แชล ปากีสถาน มัลดีฟส์ บังกลาเทศ และอาเซียน

ประเทศไทยมีความพร้อมในด้านบุคลากรทางเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบทำความเย็น ที่สามารถออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของผู้ซื้อเฉพาะกลุ่ม โดยไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านนี้ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการผลักดันไทยสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นของอาเซียน ตลอดจนสร้างความได้เปรียบ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก

 

วิธีการเลือกนาฬิกาข้อมือให้เหมาะสำหรับตัวเอง

วิธีการเลือกนาฬิกาข้อมือให้เหมาะสำหรับตัวเอง

วิธีการเลือกนาฬิกาข้อมือให้เหมาะสำหรับตัวเอง

นาฬิกาข้อมือ ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเลยนะครับ สำหรับช่วงเวลาที่เรานั้น มีความต้องการที่จะต้องออกสู่สังคม หรือต้องการพกติดตัวไว้ สำหรับดูเวลาต่าง ๆ เพื่อที่จะได้กะ หรือว่าประมาณในเรื่องของเวลาที่จะต้องใช้สำหรับการดำเนินการในเรื่องของชีวิตได้นั่นเองครับ และนาฬิกาเหล่านี้ ถ้าเราอยากจะเลือกนอกจากความสวยงามแล้ว แนะนำให้เลือกที่รูปแบบของมันด้วยนะครับ

ซึ่งวันนี้ก็จะมาเล่ากัน ว่าวิธีการเลือกนาฬิกาข้อมือให้เหมาะกับตัวเองนั้น ควรจะทำอย่างไรบ้าง อย่างแรกเลยให้สำรวจตัวเราก่อน ว่าเรานั้นเป็นคนชอบนาฬิกาแบบไหน ซึ่งแบบของนาฬิกา ก็อาจจะแตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์ของแบรนด์ หรือว่ายี่ห้อที่เราได้พบเห็นกัน เช่นของ Casio ก็จะเป็นนาฬิกาแนวสปอร์ตเข้ามาหน่อยนั่นเองครับ ส่วน SEIKO ก็อาจจะดูหรูขึ้นมาหน่อยเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้อ่านครับคิดว่าตัวเองเหมาะกับสไตล์นาฬิกาแบบไหน

และเมื่อค้นพบแนวนาฬิกาของตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็แนะนำให้หาข้อมูลนาฬากาหลากหลายรุ่นมากมายที่พบเห็นกันได้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ นั่นเอง ถ้าจะให้ดีต้องดูด้วยว่า หน้าปัดแบบไหนที่เราชอบ และคิดว่าเหมาะกับเรามากที่สุด