เคล็ดลับการเก็บอาหารในตู้เย็นได้นาน ๆ

สำหรับเคล็ดลับจัดระเบียบตู้เย็น เพื่อให้ความเย็นกระจายได้อย่างทั่วถึง ที่สำคัญเพื่อให้ประหยัดไฟ มีด้วยกันดังนี้

– รักษาระดับอุณภูมิในตู้เย็นไม่ควรสูงกว่า 40 องศาฟาเรนไฮต์ ควรจะอยู่ประมาณ 36-38 องศาฟาเรนไฮต์ เพราะเป็นอุณหภูมิที่เย็นพอจะรักษาและยืดอายุอาหารให้อยู่ได้นานขึ้น ไม่เน่าเสียก่อนเวลาที่ควร

– จัดวางของตามโซนที่เหมาะสม ควรแช่ของให้ถูกโซนความเย็นด้วย อาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรืออาหารที่เน่าเสียง่ายควรจะแช่ในช่องใต้ช่องแช่แข็ง

– แช่อาหารเพื่อสุขภาพให้เห็นชัด ๆ เพราะจะช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้มากขึ้น ฉะนั้นควรจัดวางอาหารเพื่อสุขภาพ หรืออาหารที่มีประโยชน์ไว้ในตำแหน่งที่สังเกตเห็นได้ง่าย

– ของเก่าเอาไว้ด้านหน้า ได้แก่อาหารที่ใกล้หมดอายุก็ควรนำมาวางไว้ในส่วนหน้าของตู้เย็นด้วย เพื่อให้นึกถึงและนำออกมารับประทานก่อนที่มันจะเสียไป

– แยกประเภทอาหารเป็นสัดส่วน เช่น เนื้อสัตว์ก็เก็บแยกไว้ในกล่องหนึ่ง ผักก็ใส่อีกกล่อง ผลไม้ก็แยกไว้ นมกล่อง หรือน้ำผลไม้ก็ใส่ในกล่องเล็ก ๆ เพียงเท่านี้ก็หมดกังวลเรื่องคราบอาหารเปอะเปื้อนในตู้เย็นแล้วล่ะ

– แพ็กเป็นชุด เพื่อประหยัดพื้นที่ในตู้เย็นให้จัดเก็บของได้มากขึ้น อีกทั้งเวลาจะหยิบมารับประทานก็เพิ่มความสะดวกได้ไม่น้อยเลยนะ

– ติดป้ายกันสับสน โดยใช้โพสต์อิทมาเขียนชนิดอาหาร แล้วแปะติดหน้ากล่อง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการหยิบอาหารมารับประทาน วิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดเวลามากขึ้นอีกด้วย

– อย่าแช่ของในตู้เย็นมากเกินไป เพราะความเย็นจะได้กระจายได้อย่างทั่วถึง ถ้าของในตู้เย็นมีเยอะมากจริง ๆ ก็ต้องจัดระเบียบให้พอมีช่องว่างให้อากาศไหลเวียนได้

– รองกันกระแทก จะได้ช่วยลดการกระแทกเสียดสีระหว่างผักผลไม้กับพลาสติกได้

– อย่าแช่ขวดน้ำในแนวนอน เพราะฝาขวดอาจมีโอกาสเปิดออกหรือฝาอาจหลวมได้ ทำให้ออกซิเจนผ่านเข้าไปในขวด ทำให้เครื่องดื่มเน่าเสียได้

– เก็บผักผลไม้ในถุงสุญญากาศ จะมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้น แถมยังคงความสดใหม่ได้เกือบครบถ้วน ดังนั้นหากอยากเก็บรักษาผักผลไม้ให้สดใหม่ได้นาน ๆ ก็หาซื้อถุงซีลสุญญากาศมาไว้ใช้เก็บผักและผลไม้ไว้

–  ป้องกันกลิ่นเหม็น โดยนำผงเบกกิ้งโซดาใส่ขวดขนาดเล็ก เปิดฝาและนำไปแช่ด้านในสุดของตู้เย็น หรือซื้อถ่านดูดกลิ่นที่มีขายอยู่ทั่วไปในตลาด มาใส่ในตู้เย็น

– ล้างตู้เย็นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันอาหารเน่าเสียคาตู้ จนเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค

ดังนั้น ตู้เย็นเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นสำคัญภายในบ้าน ที่ต้องเสียบปลั๊กให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เก็บรักษาอาหารให้อยู่ได้นาน ๆ และมีความสดใหม่ ดังนั้นอย่าลืมทำตามเคล็ดลับเหล่านี้ เพื่อให้อาหารที่อยู่ในตู้เย็นจะได้สดใหม่ และที่สำคัญเพื่อประหยัดไฟในบ้านด้วย

เทคนิคการดูแลรักษาตู้เย็นอย่างถูกวิธี

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นในปัจจุบัน เพราะว่ามองไปบ้านไหนถ้าไม่มีตู้เย็นก็ถือว่าเป็นเรื่องแปลก แต่ว่าตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ที่กินไฟฟ้าอยู่มากเลยทีเดียว เพราะว่าต้องเสียบปลั๊กไว้ตลอดเวลา โดยเฉพาะตู้เย็นเก่าๆก็จะกินไฟมากกว่า แถมสารทำความเย็นในตู้เย็นนั้นก็ยังทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย การเลือกซื้อตู้เย็นก็เป็นไปตามขนาดของครอบครัวและสไตล์ของผู้ใช้ ฉะนั้นควรจะต้องเรียนรู้วีธีการใช้ที่ถูกต้องและการดูแลรักษาที่สามารถยืดอายุการใช้งานรวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยกันดังนี้ โดยการเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกับครอบครัวซึ่งจะต้องตั้งห่างจากแหล่งความร้อน ที่สำคัญห้ามนำอาหารที่ร้อนๆเข้าตู้เย็นเป็นอันขาด นอกจากนี้จะต้องหมั่นละลายน้ำแข็งและทำความสะอาดแผงระบายความร้อนและไม่ควรเปิดประตูตู้เย็นบ่อยจนเกินไป

สำหรับการดูแลรักษาตู้เย็นนั้นสามารถทำได้ในชีวิตประจำวันเพราะตู้เย็นเปรียบเสมอที่พักอาหาร ถ้าตู้เย็นไม่สะอาดจะส่งผลให้ผู้ที่รับประทานอาหารเข้าไปได้รับเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆได้ ทั้งนี้การทำความสะอาดสามารถกระทำได้โดยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหรืออาจใช้น้ำยาเช็ดตู้เย็นโดยเช็ดเป็นประจำเพราะจะช่วยขจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสง์ได้ด้วย นอกจากนี้การละลายน้ำแข็งนั้นจะช่วยให้ระบายความเย็นของตู้เย็นได้เป็นอย่างดีเลย หากปล่อยให้น้ำแข็งหนาล้นออกมาก็จะไม่สามารถปิดประตูได้

สิ่งที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่งคือ ในการทำความสะอาดตู้เย็นนั้นไม่ควรใช้ผงซักฟอกเช็ดด้านในของตู้เย็น เพราะกลิ่นจะเกาะติดอาหารที่อยู่ภายในและอีกอย่างน้ำยามีฤทธิ์กักร่อนอีกด้วย ในการละลายนำแข็งภายในตู้เย็นไม่ควรใช้อุปกรณ์ต่างๆมางัดและในการนำอาหารใส่กลับเข้าตู้เย็นหลังจากทำความสะอาดเสร็จแล้ว จะต้องทำความสะอาดหรือห่ออาหารก่อนเพื่อป้องกันความชื้น ดังนั้น การดูแลรักษาตู้เย็นอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งอีกทั้งยังสามารถทำได้อย่างสะดวกและทำให้ไม่สิ้นเปลืองพลังงานรวมทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดเงินได้อีกด้วย ที่สำคัญยังช่วยให้ตู้เย็นมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นอีกด้วย

ขั้นตอนการทำงานของตู้เย็นคือการกำจัดความร้อนจากพื้นที่ปิดหรือจากวัตถุ

1

ก่อนที่จะมีตู้เย็นปรากฏขึ้นมาบนโลกใบนี้ มนุษย์เราเก็บรักษาอาหารโดยการใช้น้ำแข็งและหิมะ ตู้เย็นยุคแรกๆในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ คือ การขุดหลุมลงไปในพื้นดินจากนั้นก็ปูด้วยไม้หรือฟางแล้วนำน้ำแข็งหรือหิมะใส่ลงไปในหลุมนั้น เพื่อใช้เก็บอาหาร ขั้นตอนการทำงานของตู้เย็นคือ การกำจัดความร้อนจากพื้นที่ปิดหรือจากวัตถุ เพื่อทำให้อุณหภูมิภายในตู้เย็นต่ำลง ตู้เย็นใช้ไอระเหยจากของเหลวเพื่อดูดซับความร้อน ของเหลวที่ใช้ในตู้เย็นนั้นสามารถระเหยได้ในอุณหภูมิที่ต่ำมากๆ ซึ่งทำให้เกิดอุณหภูมิที่เย็นจัดภายในตู้เย็น หลักการทั้งหมดนี้มีพื้นฐานมาจากกฏฟิสิกส์ที่ว่า ของเหลวระเหยได้รวดเร็ว (ภายใต้ความกดดัน) ไอที่ระเหยอย่างรวดเร็วนี้ต้องการพลังงาน kinetic และดึงอุณหภูมิที่ต้องการจากพื้นที่ที่มันอยู่ในขณะนั้น ทำให้พลังงานในพื้นที่นั้นค่อยๆลดลงและเกิดความเย็นในที่สุด ความเย็นที่เกิดจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของก๊าซเป็นหลักการทำงานของการทำความเย็นในปัจจุบัน

ตู้เย็นจำลองเครื่องแรกถูกสาธิตการทำงานโดย วิลเลียม คัลเลน (William Cullen) ที่มหาวิทยาลัยแห่งกลาสโกว์ ปี ค.ศ. 1748 แต่ว่า เขาไม่ได้ทำให้การค้นพบของเขากลายเป็นตู้เย็นที่สามารถใช้งานจริงขึ้นมาได้ ค.ศ. 1805 นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ชื่อ โอลิเวอร์ อีวานส์ (Oliver Evans) ได้ออกแบบตู้เย็นเครื่องแรกขึ้น ส่วนตู้เย็นที่สามารถใช้งานได้จริงสร้างโดย จาคอบ เพอร์กินส์ ใน ค.ศ. 1834 ต่อมา นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน นามว่า จอห์น กอร์รี (John Gorrie) ได้สร้างตู้เย็นโดยอิงมาจากการออกแบบของอีวานส์ ค.ศ. 1876 วิศวกรชาวเยอรมัน คาร์ล วอน ลินเดน (Carl von Linden) ได้จดสิทธิบัตรกระบวนการทำก๊าซให้เป็นของเหลว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการทำความเย็นเบื้องต้น

ตู้เย็นในช่วงปลาย ค.ศ. 1800 ถึง 1929 ใช้ก๊าซที่เป็นพิษในการทำความเย็น เช่น แอมโมเนีย, เมทิล คลอร์ไรด์, และซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ อุบัติเหตุรุนแรงเกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงยุค 1920 เมื่อเมธิล คลอไรด์ รั่วไหลจากตู้เย็นบริษัทอเมริกัน 3 แห่งร่วมกันทำวิจัยและพัฒนากระบวนการทำความเย็นที่ปลอดภัยมากขึ้น ความพยายามของพวกเขาทำให้ค้นพบ ฟรีออน (Freon) ไม่กี่ปีต่อมา ตู้เย็นที่ใช้สารฟรีออนในการทำความเย็นก็กลายเป็นของใช้ในครัวทั่วไปทว่าไม่กี่ศตวรรษต่อมาเราก็ได้รู้ว่า คลอโรฟลูออโรคาร์บอนส์ นี้เป็นภัยต่อชั้นโอโซนของโลกของเรา

ต้อนรับ AEC ตอกย้ำความเป็นที่ผู้นำในกระบวนการผลิตอาหารระบบทำความเย็น

มองอุตสาหกรรมอาหารและส่งออกอาหารในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จึงมุ่งพัฒนา 4 ธุรกิจหลักรองรับ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจเครื่องทำความเย็น  กลุ่มธุรกิจอาหารเหลว กลุ่มธุรกิจวิศวกรรมแปรรูปอาหาร และกลุ่มธุรกิจเครื่องทำน้ำแข็ง เน้นเจาะตลาดส่งออกแถบภูมิภาคอาเซียน พร้อมเปิดสำนักงานที่ประเทศพม่าภายในปี 2558

พัฒนา 4 ธุรกิจหลักรองรับอุตสาหกรรมอาหารและส่งออกอาหารที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มธุรกิจเครื่องทำความเย็น บริษัทฯ ถือเป็นผู้ประกอบการไทยรายใหญ่ที่สุดในแถบภูมิภาคอาเซียน ที่ทำงานด้านวิศวกรรม ทั้งในด้านการผลิต ออกแบบ ติดตั้ง และขายอะไหล่ อุปกรณ์ ระบบแช่อาหาร ห้องเย็นอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ ตู้แช่ผลิตภัณฑ์และห้องเย็นสาหรับซุปเปอร์มาร์เก็ต ระบบทำความเย็นเพื่อใช้ในโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา กุ้ง ผักและผลไม โดยมีระบบทำน้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิ และระบบลมเย็นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สดเสมอระหว่างการแปรรูปและตัดแต่ง เริ่มตั้งแต่แช่แข็งและเก็บ เพื่อรอการส่งออกและจำหน่ายต่อไป เป็นต้น เนื่องจากบริษัทฯ มีเทคโนโลยีที่ดีเทียบเท่าบริษัทต่างชาติและยังมุ่งเน้นในเรื่องการประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ปัจจุบันบริษัทฯ มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย และใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยสัดส่วนการผลิตปัจจุบันตลาดในประเทศเฉลี่ย 80 เปอร์เซ็นต์ และตลาดต่างประเทศอีก 20 เปอร์เซ็นต์ และตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มสัดส่วนการส่งออกให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 50:50 ใน 3-5 ปีข้างหน้า

ธุรกิจแปรรูปอาหารเหลว เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตนม น้ำผลไม้ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์  และยังรวมถึงอุตสาหกรรมที่ไม่ใข่อาหาร ได้แก่ แชมพู ครีมนวดผม สบู่เหลว ยา เคมีภัณฑ์บางชนิด เช่นสี เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น โรงงานนมต้องใช้เทคโนโลระดังสูง เน้นระบบทำความสะอาด และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ความภาคภูมิใจหนึ่งของบริษัทฯ คือการเป็นผู้ออกแบบ ผลิตและติดตั้งเครื่องจักร และเป็นผู้ร่วมพัฒนาสหกรณ์โคนมทั่วประเทศ เป็นบริษัทรายเดียวในประเทศไทยที่สามารถทำระบบควบคุมอัตโนมัติและมาตรฐานอาหารในการแปรรูปนม ในกระบวนการผลิตต่างๆได้ทัดเทียมบริษัทต่างชาติ

และสุดท้ายคือ กลุ่มธุรกิจเครื่องทำน้ำแข็ง ด้วยความที่คือผู้ที่บุกเบิกให้มีน้ำแข็งหลอดขึ้นในประเทศไทย และเป็นผู้ผลิตเครื่องทำน้ำแข็งหลอดรายแรกที่ทำให้คนไทยมีน้ำแข็งที่สะอาด ถูกสุขอนามัยไว้บริโภคด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นอันดับหนึ่งของโลก อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิต ออกแบบ ติดตั้งและขายอะไหล่ อุปกรณ์สำหรับเครื่องทำน้ำแข็งหลอด น้ำแข็งเกล็ด และน้ำแข็งซองมายาวนานเกือบ 50 ปี และยังมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปแล้ว 5 ทวีป กว่า 50 ประเทศ ทำให้บริษัทฯ มีสัดส่วนการผลิตทั้งตลาดในและต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 40:60 เปอร์เซ็นต์

ระบบทำความเย็นในโรงงานอุตสาหกรรม

ระบบทำความเย็น และระบบปรับอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมใช้ระบบดูดซึม (Absorption) ซึ่งใช้พลังงานจากความร้อนเป็นส่วนใหญ่ สามารถใช้ความร้อนได้จากหลายแหล่ง เช่น ไอน้ำจากหม้อไอน้ำ น้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น นอกจากเป็นการประหยัดพลังงานแล้วยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

หลักการเบื้องต้นของระบบทำความเย็นแบบดูดซึม การทำงานของระบบทำความเย็น แบบดูดซึม (Absorption Systems) เริ่มต้นจากสารทำความเย็นซึ่งมีอุณหภูมิ 5 ๐C และมีความดัน 6 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งจะถูกดูดซึมด้วยสารดูดซึมกลายเป็นของเหลวในตัวดูดซึมความร้อน (Absorber) จากนั้นจะถูกสูบโดยปั๊มเพื่อให้มีความดันสูงเป็น 75 มิลิเมตรปรอท และถูกส่งไปยังอุปกรณ์ให้ความร้อน (Generator) เพื่อรับความร้อนจากแหล่งกำเนิดความร้อนต่างๆ เช่น น้ำร้อน ไอน้ำ หรือไอความร้อนที่เหลือจากการเผาไหม้ที่อุณภูมิสูงประมาณ 100-200 ๐C ทำให้สารทำความเย็นแยกตัวออกจากสารดูดซึม ไอน้ำจะกลั่นตัวที่ชุดควบแน่น (Condenser) ที่อุณหภูมิประมาณ 40-50 ๐C และกลับสภาพเป็นของเหลวตามเดิม ส่วนสารดูดซึมที่เหลือจะถูกนำมาไว้ที่ตัวดูดซึมเพื่อใช้งานใหม่ความร้อนที่คายออกมาก็จะระบายออกไปสู่บรรยากาศ

ระบบทำความเย็นแบบดูดซึมประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก 4 ส่วน ได้แก่

ตัวดูดซึมความร้อน (Absorber) คือ อุปกรณ์ดูดซึมความร้อน เป็นส่วนที่บรรจุสารทำความเย็น และตัวละลาย เช่น ในกรณีที่ใช้สารลิเธียมไบรไมด์ (LiBr) และน้ำนั้น น้ำจะเป็นสารทำความเย็น และลิเธียมไบรไมด์จะเป็นตัวละลาย

ตัวทำความเย็น (Evaporator) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ หรือส่วนที่ใช้แลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสารทำความเย็นกับน้ำของระบบ Chiller หรือน้ำเย็นที่จะนำไปใช้กับระบบปรับอากาศ

อุปกรณ์ให้ความร้อน (Generator) เป็นอุปกรณ์ หรือส่วนให้ความร้อนกับระบบในตัวดูดซึมความร้อน และสารละลายลิเธียมไบร์ไมด์ถูกสูบมารับความร้อน ทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอ โดยที่สารละลายลิเธียมไบร์ไมด์เข้มข้นขึ้นอีกครั้งแล้วส่งกลับไปยังตัวดูดซึมความร้อน

ตัวควบแน่น (Condenser) เป็นที่ที่ไอน้ำในอุปกรณ์ให้ความร้อนแล้วกลั่นตัวเป็นน้ำ เพื่อส่งกลับไปที่ตัวทำความเย็นใหม่

ระบบทำความเย็นแบบดูดซึมมีประสิทธิภาพต่ำกว่าระบบทำความเย็นแบบอัดสารทำความเย็น แต่พลังงานความร้อนที่ใช้ในอุปกรณ์ให้ความร้อนสามารถนำมาจากแหล่งความร้อน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์พลังงานอีกวิธีหนึ่ง โดยพลังงานความร้อนดังกล่าวอาจมาจาก

– หม้อไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม ยังมีปริมาณไอน้ำเหลือจากการใช้ในกระบวนการผลิตเพียงพอที่จะนำมาใช้
– หม้อไอน้ำที่ติดตั้งเพื่อใช้กับระบบทำความเย็นโดยเฉพาะ
– การนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ (Water Heat Recover) จากก๊าซที่ปล่อยทิ้งจากระบบของเครื่องยนต์ ซึ่งก๊าซ หรือกังหันก๊าซ (Gas Engines or Gas Turbines) มักจะใช้ในโรงงานไฟฟ้า สามารถทำในรูปของโรงงานอุตสาหกรรมที่ติดตั้งระบบผลิตความร้อน และไฟฟ้าร่วม (Cogeneration) ได้
– ไอน้ำความดันต่ำจากการปล่อยทิ้งของกังหันไอน้ำ (Stream Turbines)
– น้ำร้อนจากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์

การเลือกซื้อตู้แช่แข็งสำหรับใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

การจัดเก็บอาหารให้สดใหม่เสมอๆนั้นเป็นเรื่องสำคัญ

เพราะการที่อาหารที่เราทำใช้วัตถุดิบที่เก็บไม่ดีโดยอาจจะเก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม ที่เก็บอาจจะอับชื้นหรือไม่ถูกสุขอนามัย หรือถ้าร้ายไปกว่านั้นคือวัตถุดิบที่จะนำมาประกอบอาหารนั้นค้างคืนหรือเน่าเสียไปแล้ว ดังนั้นการที่เราเลือกซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ซึ่งวัตถุดิบแต่ละอย่างนั้นย่อมมีอายุการจัดเก็บที่สั้น ถ้าหากคุณต้องการจัดเก็บวัตถุดิบเพื่อรักษาความสดใหม่ให้ได้ยาวนานคุณอาจต้องการตัวช่วยอย่างตู้แช่เย็นคุณภาพดีสักเครื่อง

การเลือกซื้อตู้แช่แข็งนอกจากจะดูรายละเอียดต่างๆแล้วควรสังเกตเพิ่มเติมในเรื่องของฉลากประหยัดไฟฟ้าด้วย เพราะปัจจุบันนี้ได้มีการติดฉลากที่ตู้แช่แข็ง เพื่อแสดงว่าตู้แช่แข็งใช้พลังงานไฟฟ้าเท่าใด ค่าไฟฟ้าต่อปีเท่าใด และประสิทธิภาพอยู่ในระดับใด ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้บริโภคพิจารณาเลือกซื้อตู้แช่แข็งที่มีคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น สำหรับระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของตู้แช่แข็ง เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ต่ำ พอใช้ ปานกลาง ดี ดีมาก ซึ่งบนฉลากจะแสดงระดับประสิทธิภาพเป็นตัวเลขและบอกความหมาย โดยมีตัวเลขแสดงการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหน่วยต่อปี และค่าไฟฟ้าเป็นบาทต่อปีพร้อมระบุยี่ห้อ และรุ่นของตู้แช่แข็งประกอบด้วยอย่างชัดเจน

ตู้แช่เย็น สามารถตอบสนองความต้องการการถนอมอาหารของคุณได้อย่างแน่นอน

ด้วยความแข็งแรงทนทานและมีระบบการจัดการที่เป็นอัตโนมัติทำให้สะดวกใช้งานง่าย รวมทั้งมีแผงระบายความร้อนเหมาะสำหรับสามารถนำไปใช้แช่วัตถุดิบในการประกอบอาหารของคุณในทุกๆครอบครัว สำหรับผู้บริโภคทั่วไปการซื้อตู้เย็น 2 ประตูที่มีส่วนทำความเย็นและช่องแช่แข็งแยกประตูกันจะดีกว่าซื้อตู้เย็น 1 เครื่อง และตู้แช่แข็งอีก 1 เครื่อง สำหรับตู้เย็นแบบที่มีช่องแช่แข็งในตัวนั้นช่องแช่แข็งที่อยู่ด้านบนหรือด้านล่างของตู้เย็นจะดีกว่าแบบที่ประตูอยู่ข้างกัน และแน่นอนว่าในการเลือกซื้อตู้เย็น คุณควรจะเปรียบเทียบอัตราการใช้ไฟเสมอ โดยสังเกตที่ฉลากประหยัดไฟ และมองหาตู้เย็นที่มีเทคโนโลยี Greenfreeze

ตู้แช่แข็งรุ่นที่ดึงประตูเปิดออกข้างจะมีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นที่เปิดประตูขึ้นข้างบน สำหรับตู้แช่แข็งจะไม่เหมือนตู้เย็นตรงที่ขนาดของมันมีผลต่อการใช้ไฟ ตู้แช่แข็งเครื่องใหญ่จะกินไฟมากกว่า ดังนั้นอย่าซื้อตู้แช่แข็งที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น โดยเฉพาะหากคุณอาศัยอยู่ใกล้ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า ตู้แช่แข็งรุ่นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในท้องตลาด ขนาดความจุ 300 ลิตร จะกินไฟเพียง 180 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี และขนาดใหญ่ 450 ลิตร กินไฟ 240 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ส่วนตู้แช่แข็งแบบประตูเปิดขึ้นข้างบน รุ่นที่มีคุณภาพจะกินไฟตั้งแต่ 170 กิโลวัตต์ชั่วโมง สำหรับรุ่นความจุ 190 ลิตร จนถึง 220 กิโลวัตต์ชั่วโมง สำหรับรุ่นความจุ 310 ลิตร

เครื่องทำความร้อนจากการใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็น นวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจ

wolcottcongregational.org

ในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาในการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆตามสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงได้มีการนำระบบน้ำร้อนจากเครื่องปรับอากาศมาใช้ เป็นระบบที่นำเอาพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในการทำความเย็นให้กับตัวอาคาร แล้วปล่อยพลังงานความร้อนออกไปด้วยพัดลมระบายอากาศอีกทั้งธุรกิจบริการต่างๆจำเป็นต้องใช้เครื่องทำความเย็นมากขึ้นทุกวัน ทำให้มีการใช้ไฟฟ้ากันมากขึ้น เช่น ธุรกิจโรงแรม โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ในส่วนของการอุปโภคบริโภคอีกด้วย ผู้ประกอบการเองเมื่อทำธุรกิจจำเป็นต้องใช้ เครื่องปรับอากาศ และ เครื่องทำน้ำร้อน อันเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้เพื่อเป็นสวัสดิการเสริมให้แก่พนักงาน แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการสามารถทำได้นั่นคือ การประหยัดพลังงาน ฉะนั้นทางเลือกหนึ่งของการประหยัดพลังงานคือระบบ ULTRA PLUS ซึ่งเป็นเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำร้อนในตัวเดียวกัน และยังช่วยประหยัดหลังงานได้มากกว่าครึ่ง

นวัตกรรมเครื่องทำน้ำร้อนจากการใช้ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องทำความเย็น โดยเครื่องทำน้ำร้อนจะทำงานร่วมกันกับเครื่องทำความเย็นและระบายความร้อนด้วยอากาศที่มีคอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์อัดไอสารทำความเย็นโดยสารทำความเย็นจะนำความร้อนได้จากวัฏจักรทำความเย็นที่นำออกจากห้องที่ต้องการทำความเย็น ทำให้ความเย็นเป็นของเหลว เรียกว่าการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างสารทำความเย็นกับน้ำ น้ำที่ผ่านเครื่องจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น และเกิดเป็นพลังงานจากเครื่องทำความเย็น ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานอีก ในขณะเดียวกันการติดตั้งเครื่องและเปลี่ยนความร้อนทำให้ระบบสามารถระบายความร้อนได้ดี ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องทำความเย็นจะดีขึ้น โดยทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน จะทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพสมบูรณ์แบบเป็นการประหยัดพลังงานได้มากขึ้น และได้รับประโยชน์มากขึ้นอีกด้วย

การวางแผนสำหรับการประหยัดพลังงานเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานของชาติและลดต้นทุนในการทำธุรกิจ การประหยัดพลังงานสามารถทำได้หลายวิธี ควรเลือกวิธีที่ลงทุนน้อยที่สุด โดยหนึ่งอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเปลืองที่สุด นั่นคือ เครื่องทำความเย็นนั่นเอง

การออกแบบเครื่องปรับอากาศแบบเคลื่อนที่อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แอร์เคลื่อนที่ กลายเป็นเครื่องปรับอากาศชนิดหนึ่งที่ใช้งานได้แบบเดียวกันกับแอร์บ้านทั่ว ไป แต่พิเศษกว่าตรงที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และไม่ต้องติดตั้งเข้ากับตัวบ้าน เพียงแค่เสียบปลั๊กก็ใช้ได้เลย เพราะหน้าร้อนแบบนี้แอร์คือสิ่งจำเป็นอันดับต้นๆ ที่หลายคนนึกถึง เพราะจะหวังพึ่งพัดลมเพียงอย่างเดียวก็คงจะเอาไม่อยู่ หลายคนจึงตัดสินใจเลือกซื้อแอร์ในช่วงซัมเมอร์ที่อุณหภูมิอากาศพุ่งสูงแบบ นี้ และแอร์เคลื่อนที่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ เหมาะกับผู้ที่อยู่หอพัก อพาร์ทเม้นต์ คอนโดมิเนียม เพราะไม่จำเป็นต้องเจาะกำแพงเพื่อติดตั้ง และสามารถเคลื่อนย้ายได้ถ้าเปลี่ยนที่อยู่

นวัตกรรมใหม่ด้วยดีไซน์ของเครื่องปรับอากาศแบบเคลื่อนที่

ที่ ให้ความเงียบ สมรรถภาพสูงในทุกขั้นตอนของการผลิตด้วยรูปแบบความเย็นที่เคลื่อนที่ได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็สัมผัสได้ถึงความเย็น สามารถปรับทิศทางลมอัตโนมัติ ปรับแรงลมได้ 3 ระดับ พร้อมจอ LCD บอกการทำงานของเครื่อง รูปทรงทันสมัย ขนาดกะทัดรัด เคลื่อนย้ายสะดวก ไม่ต้องติดตั้ง เสียบปลั๊กและใช้งานได้ทันที เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องด้วยระบบการระเหยน้ำทิ้ง ที่คุณสามารถสัมผัสได้ถึงความเย็นสบาย อากาศบริสุทธิ์ใกล้ตัวคุณเท่าที่คุณต้องการ ให้ความเย็นบริสุทธิ์ได้มากถึง 400 m3/h เหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่ แผ่นกรองอากาศใช้เทคโนโลยีระดับนาโมมิเตอร์ ใช้น้ำยา R410A ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แอร์เคลื่อนที่ สามารถปรับอุณหภูมิและความชื้นภายในห้องหรือบริเวณที่ใช้งานให้เหมาะสมได้ ตามต้องการด้วยคุณสมบัติการใช้งานที่ง่ายและสะดวกทำให้เหมาะสมแก่การใช้งาน ในหลายโอกาสและสถานที่ ทั้งการทำความเย็นลดความชื้นและช่วยการหมุนเวียนของอากาศ ออกแบบเป็นพิเศษให้เล็กกระทัดรัดกินไฟน้อย เครื่องทำงานเงียบควบคุมด้วยระบบดิจิตอลแสดงผลที่หน้าจอและ สามารถแสดงผล การผิดปกติของเครื่องโดยอัตโนมัติ เป็นเครื่องปรับอากาศที่พร้อมจะเปลี่ยนจากอากาศร้อนสุดๆให้เป็นอากาศเย็น สบาย เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของคุณ แล้วการใช้ชีวิตในแต่ละวันของคุณจะมีความสุขมากยิ่งขึ้น

สินค้าผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพสูงและแข็งแรงทนทานมากกว่ามาตรฐานทั่วไป

โดย เฉพาะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปล่อยสาร CFC ซึ่งเป็นสารทำลายบรรยากาศในชั้นโอโซน เป็นเครื่องทำความเย็นระบบแอร์คอนดิชั่น ประหยัดไฟเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องปรับอากาศทั่วไป ติดตั้งและเคลื่อนย้ายได้สะดวกด้วยล้อเลื่อน ไม่ต้องมีท่อน้ำทิ้ง เพราะมี mode ใช้ระเหยน้ำออกได้ตามท่อลมร้อน สามารถปรับช่องอากาศขึ้น-ลงได้ ใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องติดตั้ง เพียงเสียบปลั๊กก็ใช้งานได้ทันที หากใช้กับปลั๊กพ่วงไม่ควรใช้พ่วงกับอุปกรณ์อื่นๆ สามารถควบคุมการทำงานได้ในระยะไกล ด้วยระบบรีโมทคอนโทรล ตั้งเวลาทำงานได้สูงสุด 24 ชั่วโมง

การเลือกซื้อตู้เย็นประหยัดไฟเบอร์ 5

ตู้เย็น คือ ตู้ที่ให้ความเย็น ซึ่งช่วยเก็บรักษาอาหารให้สดและใหม่อยู่เสมอเพราะความเย็นจะช่วยหยุดยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ที่ทำให้อาหารเกิดการบูดเน่าได้ ตู้เย็นเป็นอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ และเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบัน เนื่องด้วยตู้เย็นเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกในการเก็บถนอมอาหารให้อยู่ในสภาพสด และใช้ที่กักตุนอาหารประเภทต่างๆที่มีการขายแพร่หลายในท้องตลาดปัจจุบัน เช่น เครื่องดื่ม อาหารสดบรรจุกล่อง ถุง ตลอดจนเก็บรักษายารักษาโรคและอื่นๆอีกมากมาย ผู้ใช้จึงควรเรียนรู้ถึงระบบการทำงานของตู้เย็นเพื่อให้สามารถใช้ตู้เย็นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

การเลือกใช้ตู้เย็นที่มีการติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพ

โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทผู้ผลิต นำเข้าตู้เย็น และผู้ประกอบการได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานตู้เย็นเบอร์ 5 ใหม่ให้ประหยัดไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 โดยใช้สัญลักษณ์ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการใช้ตู้เย็นที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแล้วยังนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงอื่นๆอีกด้วย ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับเพื่อไม่ให้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพต่ำผลิตและเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย

อุณหภูมิภายนอกและภายในของตู้เย็นจะมีความสัมพันธ์กัน ถ้าอุณหภูมิภายนอกตู้เย็นต่ำการถ่ายเทความร้อนจะมีค่าสูงเพื่อทำให้ภายในเย็นมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งของที่นำมาแช่ด้วย หากสิ่งของมีปริมาณมากหรือมีการเปิดและปิดตู้เย็นบ่อยครั้ง ความเย็นก็จะลดน้อยลง การปรับอุณหภูมิในตู้เย็นควรปรับให้สอดคล้องกับความต้องการ เช่น เมื่อมีของที่ต้องแช่มากก็ควรปรัดลดอุณหภูมิให้มีความเย็นมากยิ่งขึ้น ตู้เย็นประเภทสองประตู ควรปรับอุณหภูมิของทั้งสองส่วนให้สอดคล้องกัน  ตามคำแนะนำของสิ้นค้า เพราะปัจจุบันนี้ได้มีการติดฉลากที่ตู้เย็น เพื่อแสดงว่าตู้เย็นใช้พลังงานไฟฟ้าเท่าใด ค่าไฟฟ้าต่อปีเท่าใด และประสิทธิภาพอยู่ในระดับใด ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้บริโภคพิจารณาเลือกซื้อตู้เย็นที่มีคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น

ระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของตู้เย็น

– ระดับที่ 1 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ต่ำ
– ระดับที่ 2 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ พอใช้
– ระดับที่ 3 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ปานกลาง
– ระดับที่ 4 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ดี
– ระดับที่ 5 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ดีมาก

หลักการทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศความสำคัญอย่างมาก

หลักการทำความเย็นเครื่องปรับอากาศก่อนที่เราจะเรียนรู้กลไกการทำงานของ เครื่องปรับอากาศ เราควรทราบก่อนว่า ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการทำการความเย็นมี
1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ของแอร์ แอร์บ้าน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำ ความเย็นหรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น
2. คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น
3. คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น
4. อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) ทำหน้าที่ลดความดันและอุณหภูมิของสาร ทำความเย็น โดยทั่วไปจะใช้เป็น แค็ปพิลลารี่ทิ้วบ์ (Capillary tube) หรือ เอ็กสแปนชั่นวาล์ว (Expansion Valve)

ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างต่อเนื่องเป็น วัฏจักรการทำความเย็น (Refrigeration Cycle) โดยมีกระบวนการดังนี้
1) เริ่มต้นโดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นเพื่อเพิ่มความดันและอุณหภูมิของน้ำยา แล้วส่งต่อเข้าคอยล์ร้อน
2) น้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์ร้อนโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยระบายความร้อน ทำให้น้ำยาจะที่ออกจากคอยล์ร้อนมีอุณหภูมิลดลง (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งต่อให้อุปกรณ์ลดความดัน
3) น้ำยาที่ไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันจะมีความดันและอุณหภูมิที่ต่ำมาก แล้วไหลเข้าสู่คอยล์เย็น (หรือที่นิยมเรียกกันว่า การฉีดน้ำยา)
4) จากนั้นน้ำยาจะไหลวนผ่านแผงคอยล์เย็นโดยมีพัดลมเป่าเพื่อช่วยดูดซับความร้อนจากภายในห้อง เพื่อทำให้อุณหภูมิห้องลดลง ซึ่งทำให้น้ำยาที่ออกจากคอยล์เย็นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ความดันคงที่) จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าคอมเพรสเซอร์เพื่อทำการหมุนเวียนน้ำยาต่อไป

หลังจากที่เรารู้การทำงานของวัฏจักรการทำความเย็นแล้วก็พอจะสรุปง่ายๆได้ดังนี้
1) สารทำความเย็นหรือน้ำยา ทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็นอีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดการทำงานของคอมเพรสเซอร์
2) คอมเพรสเซอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวในระบบที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนน้ำยาผ่านส่วนประกอบหลัก คือคอยล์ร้อน อุปกรณ์ลดความดัน และคอยล์เย็น โดยจะเริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงเกินอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ และจะหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าอุณหภูมิที่เราตั้งไว้ ดังนั้นคอมเพรสเซอร์จะเริ่ม และหยุดทำงานอยู่ตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอตามที่เราต้องการ

การลดภาระการทำความเย็นของระบบปรับอากาศโดยใช้สารดูดความชื้นเพื่อการประหยัดพลังงาน


ปัจจุบันเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศเป็นอุปกรณ์ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในบ้านเรือนและอุตสาหกรรม โดยประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศเป็นอันดับต้นๆของโลก สารทำความเย็นที่ใช้ในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศจะถูกปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการเกิดภาวะมลพิษ ซึ่งแนวทางหนึ่งในการช่วยลดการใช้ไฟฟ้าลงได้คือการลดความชื้นภายในอากาศโดยไม่ใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้สารดูดความชื้น จึงเป็นวิธีหนึ่งในการลดความชื่นในอากาศ แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ลดความชื้นที่จำหน่ายในท้องตลาดมีด้วยกันหลายแบบ เช่น เครื่องลดความชื้นที่ใช้คอมเพรสเซอร์และเครื่องลดความชื้นที่ใช้สารกึ่งตัวนำเป็นอุปกรณ์หลักในการลดความชื้น เครื่องลดความชื้นที่ใช้สารกึ่งตัวนำนั้นจะเป็นวิธีการที่สะดวกเพราะไม่มีอุปกรณ์มาก ง่ายต่อการติดตั้งและมีน้ำหนักเบา ความชื้นสะสมที่เกิดขึ้นภายในที่พักอาศัยมักจะเกิดขึ้น เนื่องจากร่างกายมนุษย์ที่ถ่ายเทความชื้นจากร่างกายให้กับอากาศในที่พักอาศัย การคายความชื้นจากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายในที่พักอาศัย ด้วยเหตุนี้ทำให้ปริมาณความชื้นภายในอากาศเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดความไม่สบายเชิงความร้อนต่อผู้พักอาศัย จากการคายความชื้นสู่อากาศภายในที่พักอาศัยทำให้เครื่องปรับอากาศจะต้องทำการดึงความร้อนแฝงที่เกิดจากความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัยออกจากที่พักอาศัยเป็นจำนวนมาก

การลดความชื้นสะสมภายในที่พักอาศัย ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ แบบ Passive และ Active
วิธี Passive อาศัยหลักการเดียวกับการระบายอากาศแบบธรรมชาติ เมื่ออากาศมีอุณหภูมิจะทำให้อากาศลอยตัวสูงขึ้นและความชื้นในอากาศก็ลอยตัวพร้อมกับอากาศไหลผ่านฝ้าเพดาน
วิธี Active จะเป็นการลดความชื้นโดยมีอุปกรณ์ช่วยในการลดความชื้น เช่น พัดลมสำหรับการระบายอากาศเพื่อช่วยในการลดความชื้นสะสมภายในที่พัก

ฉะนั้นเมื่อมีการลดความชื้นของอากาศลงก็จะช่วยทำให้เครื่องปรับอากาศลดความชื่นลงได้ ซึ่งจะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง

การให้ความร่วมมือของประเทศต่างๆโดยการใช้ระบบทำความเย็นด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ปัจจุบันโลกเริ่มให้ความสำคัญของการเกิดภาวะเรือนกระจกมากขึ้น ในการมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยสารที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ผู้ผลิตเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศหลายรายในเอเชียได้วางแผนที่จะค่อยๆปรับลดการใช้สารที่มีส่วนประกอบของคลอรีนที่เป็นการทำลายชั้นโอโซนที่ค่อยๆหมดไปในอนาคต โดยเปลี่ยนสารทำความเย็นจากไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอนให้เป็นสารที่เบาขึ้นเพื่อป้องกันการทำลายชั้นโอโซน นอกจากนี้ยังมีหลายประเทศร่วมกันจัดกิจกรรมให้กับลูกค้าในการให้ความรู้เรื่องภาวะโลกร้อน และสนับสนุนให้ผู้ใช้เปลี่ยนไปใช้สารทำความเย็นที่เบากว่าเดิม

ภาวะเรือนกระจกเกิดจากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการสร้างพลังงานไฟฟ้า และยังช่วยในการขนส่ง ระบบปรับอากาศจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ ซึ่งหากใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาทำลายชั้นบรรยากาศของโลกได้ ปัจจุบันการทำความเย็นมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น ระบบปรับอากาศในบ้านเรือน การรักษาความสดของอาหาร เช่น ตู้เย็น โดยระบบทำความเย็นมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบอัดไอ และระบบดูดซึม

ในเวลานี้ประเทศที่พัฒนาแล้วจึงลดการผลิตและยกเลิกการใช้งานสารอันตรายได้สำเร็จ ซึ่งกำลังดำเนินการไปเรื่อยๆในประเทศที่กำลังพัฒนา และในหลายๆประเทศเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น พลังงานแสงอาทิตย์นั้นมีศักยภาพนำมาผลิตเป็นความเย็นเพื่องานด้านความเย็นแบบดูดกลืนพลังงานความร้อนหรือระบบอากาศที่มีประสิทธิภาพ และยังรักษาสิ่งแวดล้อมลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล มีพลังงานในการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานกลความเย็น นำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ

ในหลายๆประเทศเริ่มมีการประยุกต์ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตความเย็น นับว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ และควรร่วมกันสนับสนุน เพื่อการใช้งานในเชิงพาณิชย์ เพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิล และพลังงานแสงอาทิตย์นั้นเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด อีกทั้งประเทศไทยเป็นเมืองร้อนจึงมีศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์ที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้นการช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยีความเย็นจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแนวทางที่ยั่งยืนและไม่มีวันหมด

การออกแบบพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น

การออกแบบพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น

ในการออกแบบระบบการทำความเย็นนั้น เรามีการเลือกใช้สารทำความเย็นได้หลายชนิด เช่น คลอโรฟลูโอโร แอมโมเนียไฮโดรคาร์บอน เช่น โพรเพน อีเทน เอทิลลีน เป็นต้น คาร์บอนไดออกไซด์ อากาศ และน้ำ ดังนั้น การเลือกใช้จึงได้ขึ้นอยู่กับสภาวะนั้นเอง เอทิลอีเธอร์ ถูกนำมาใช้เป็นสารทำความเย็นในระบบการทำความเย็น แบบไออัดตัวครั้งแรกในเชิงพาณิชย์ ปี ค.ศ. 1850 และได้มีการใช้สารทำความเย็นอื่น เช่น แอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ เมทิลคลอไรด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ บิวเทน โพรเพน ไอโซบิวเทน แก๊สโซลีน ชนิดต่างๆ แต่โรงงานอุตสาหกรรมหรือ ธุรกิจส่วนใหญ่จะใช้พวก แอมโมเนีย แม้ว่า แอมโมเนียจะเป็นพิษ แต่เนื่องจากว่ามแอมโมเนียนั้น มีราคาที่ถูก ให้ค่า COPs สูงกว่า มีสมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์และความสามารถในการถ่ายโอนความร้อนที่ดีกว่า ทำให้ค่าการถ่ายโอนความร้อนที่สูงกว่า และยังง่ายต่อการตรวจจับการรั่วไหล และไม่มีผลต่อชั้นโอโซในบรรยากาศ แต่ว่า ข้อเสียหลักของแอมโมเนีย คือ ความเป็นพิษซึ่งไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้ และมักใช้แอมโมเนียกับระบบทำความเย็นอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การแช่ผลไม้สด ผัก เนื้อ และเครื่องดื่ม เช่น ไวน์ เบียร์ และการเช่นไอศกรีมและอาหารอื่น ๆ อีกด้วย

เป็นที่น่าสังเกต คือ ในอดีตสารทำความเย็นที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมเบาและบ้านเรือนมีสารพิษ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เอทิลคลอไรค์ และเมทิลคลอไรด์ และเมื่อเกิดการรั่วจะก่อให้เกิดอัตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาสารทำความเย็นที่มีความปลอดภัยให้มากขึ้น บริษัท frigidaire and general motor ได้มีการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับสารทำความเย็น R-12 ขึ้น ซึ่งเป็นสารทำความเย็นชนิดแรกจำพวก CFCs และได้พบว่าเป็นสารทำความเย็นที่เหมาะสมมากที่สุดที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์ จากวิกฤตทางด้านโอโซน ทำให้คนได้ให้ความสนใจกับสารทำความเย็นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารจำพวก CFCs ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ในปี ค.ศ. 1970 เราได้พบว่าสารตัวนี้ได้มีผลทำให้รังสีอัลตราไวโอเรตเข้ามายังชั้นบรรยากาศของโลก ส่งผลกระทบคือเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ปรากฏกาณ์ เรือนกระจก ( greenhouse effect ) และก่อให้เกิดอินฟราเรดออกจากชั้นบรรยากาศของโลกอีกด้วย

เทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้ในการผลิตเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น


ปัจจุบันระบบทำความเย็น (Chiller) เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรหลากหลายชนิด

ทำให้มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประเทศไทยที่อยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น จำเป็นต้องใช้ Chiller ทำให้เครื่องจักรเหล่านั้นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นสามารถช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายในแง่ของการพัฒนาระบบให้ดีมากขึ้น เนื่องจากระ Chiller สามารถแก้ไขปัญหาและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมได้ ระบบ Chiller มีลักษณะการทำงานแบบระบบเปิดและระบบปิด หรือสามารถเลือกใช้งานได้แบบ 1-1 หรือ แบบรวมศูนย์ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมตามลักษณะการใช้งานของอุตสาหกรรมต่างๆ

สำหรับเรื่องสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนและมีการคาดการณ์ว่าหน้าร้อนปีนี้จะสั้นกว่าปกตินั้น คิดว่าไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถผลิตเครื่องปรับอากาศที่มี 2 ระบบได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะขายดีขึ้น อย่างไรก็ตามมูลค่าส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 7-8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ  โดยภาพรวมปีนี้ไม่ต่างจากปีที่แล้วมากนัก ทั้งเรื่องปัญหาเงินบาทแข็งค่าและการแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้นโดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยต้องแข่งขันด้านราคาสินค้าจากผู้ประกอบการจีน ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นราคาแต่ไม่สามารถปรับได้ เนื่องจากต้องแข่งขันกับสินค้าจากจีนที่จะเข้ามาตีตลาด

กลุ่มเครื่องปรับอากาศและทำความเย็นเป็นสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นทั้งด้านพาณิชย์และอุตสาหกรรมโดยใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุดของโลก อุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูงที่รับประกันถึงประสิทธิภาพชั้นเยี่ยมรวมถึง คอมเพรสเซอร์สำหรับเครื่องทำความเย็นและคอมเพรสเซอร์ที่มีอินเวอร์เตอร์สำหรับระบบปรับอากาศแบบคอยล์หลายใบพัด อีกสิ่งที่อยู่ในรายการเดียวกันก็คือเครื่องทำความเย็นแบบดูดซึมไอน้ำขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก เหมาะสำหรับการนำไปใช้ที่หลากหลาย เช่น ในการทำความเย็นแบบรวมศูนย์

ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วส่งผลให้ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก ในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจประกอบกับการผลิตพลังงานภายในประเทศยังไม่สามารถผลิตพลังงานเพียงพอต่อความต้องการใช้งานในประเทศได้ ทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันมีปริมาณในแต่ละปีสูงมาก

หลักการประหยัดพลังงานในระบบทำความเย็นและปรับอากาศ

คือ การใช้งานเท่าที่จำเป็นและป้องกันความร้อนที่จะแพร่เข้าไปภายในอาคาร ตลอดจนการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะสมกับงาน รวมทั้งต้องมีความรู้ในการใช้งาน และการควบคุมดูแลเครื่องให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีแนวความคิดในเรื่องการประหยัดพลังงาน เช่น การนำพลังงานที่ทิ้งกลับมาใช้ใหม่ หรือจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆในโรงงานและอาคาร เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานมากที่สุด

ประเทศไทยมีความพร้อมในการส่งออกเครื่องทำความเย็นไปยังต่างประเทศ

แม้ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งธุรกิจร้านอาหารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตมนุษย์ นอกจากนั้น อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจค้าปลีกทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นมินิมาร์ท ร้านสะดวกซื้อ ซูปเปอร์มาร์เก็ต และ  ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

ไทยให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบทำความเย็นอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะระบบแช่เยือกแข็งซึ่งเป็นหัวใจของอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตสมัยใหม่ที่เร่งรีบ ประกอบกับการกระจายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น เช่นเดียวกับตลาดต่างประเทศที่ตลาดอาหารแช่แข็งยังคงขยายตัวตลอดเวลา ยอดการส่งออกอาหารแช่แข็งของไทยในปีที่ผ่านมา พบว่ายอดการส่งออกอาหารแช่แข็งในตลาดหลัก อาทิ สหภาพยุโรป และอเมริกา ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนมาก เนื่องจากในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้บริโภคได้หันมาบริโภคอาหารแช่แข็งแทนการบริโภคอาหารนอกบ้าน

นอกจากนั้น การส่งออกอุปกรณ์และระบบทำความเย็นต่างๆ ที่ช่วยรักษาความสดและคุณภาพของอาหารตลอดกระบวนการแช่แข็งอาหาร ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตจนถึงมือผู้บริโภคยังคงเติบโต ทั้งในส่วนของเครื่องผลิตน้ำแข็งแผ่น ที่ใช้ในการแช่อาหารสด ซึ่งผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงาน และบำรุงรักษาง่าย เครื่องผลิตน้ำแข็ง แบบเกล็ดซึ่งใช้ในร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อ เครื่องบรรจุน้ำแข็งอัตโนมัติ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งนอกจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจค้าปลีกในประเทศแล้ว ยังมีกลุ่มลูกค้าหลักในหลายๆ ตลาดทั่วโลก อาทิ หมู่เกาะมาร์แชล ปากีสถาน มัลดีฟส์ บังกลาเทศ และอาเซียน

ประเทศไทยมีความพร้อมในด้านบุคลากรทางเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบทำความเย็น ที่สามารถออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของผู้ซื้อเฉพาะกลุ่ม โดยไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านนี้ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการผลักดันไทยสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นของอาเซียน ตลอดจนสร้างความได้เปรียบ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก